[email protected] 09-4495-2461
ISSN: 2773-9392 (Print) || ISSN: 2773-9562 (Online)

วารสาร วิถีทรรศน์ศิลปะและวัฒนธรรม

ปีที่ 1 : ฉบับที่ 3 : ประจำเดือน กันยายน-ธันวาคม 2564

บทความ

ชื่อเรื่อง
การสร้างอานิสงส์ซึ่งเนื่องในพุทธศาสนาจากหลักฐานจารึกตู้พระธรรมที่พบ ในเมืองอุบลราชธานี

Title
The Anisamsa of a merit which is due to Buddhism from Buddhist doctrine cabinets in Ubon Ratchathani.

ผู้แต่ง
ปกรณ์ ปุกหุต, ณัฐพงค์ มั่นคง และ ธนายุทธ อุ่นศรี

Authors
Pakorn Pukahuta , Nattaphong Mankong and Thanayut

บทคัดย่อ

เมืองอุบลราชธานี อันครอบคลุมพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดยโสธร ในอดีต เป็นบริเวณที่พบตู้พระธรรม สำหรับเก็บรักษาคัมภีร์ใบลานปรากฏอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งปรากฏว่ามีจารึกตู้พระธรรม เป็นหลักฐานลายลักษณ์สำคัญของมิติทางด้านวัฒนธรรมอันเนื่องในคติความเชื่อเกี่ยวกับอานิสงส์ในพุทธศาสนา คณะผู้เขียนบทความได้ศึกษาจากจารึกตู้พระธรรม จำนวน 17 ใบ รวม 14 วัด ใน 5 อำเภอ ของจังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดยโสธร ผลการศึกษาพบว่า

ในด้านโครงสร้างของจารึกมีรูปแบบคล้ายคลึงกัน แบ่งเป็น ส่วนที่หนึ่ง ได้แก่ วันเดือนปีในการสร้าง ส่วนที่สอง กล่าวถึงผู้สร้าง ส่วนที่สามกล่าวถึง กิจกรรม คำปรารถนาต่าง ๆ จารึกด้วยอักษรธรรมอีสาน อักษรไทยน้อย และอักษรไทย ระบุศักราชการสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2406 – 2480 สารัตถะจากคำปริวรรตและคำอ่านจารึก สะท้อนให้เห็นข้อมูลในหลายประเด็น ได้แก่  กลุ่มช่างท้องถิ่นในเมืองอุบลราชธานี และเมืองยโสธรกับความสัมพันธ์ในฐานะศูนย์กลางการศึกษาในพื้นที่ เจ้าภาพเจ้าศรัทธา ผู้สร้างตู้พระธรรมกับสถานะทางสังคม การสร้างศาสนวัตถุสำหรับเก็บรักษาพระคัมภีร์กับการใช้งานในบริบทเวลาที่เปลี่ยนไป  และ โลกทัศน์ความเชื่อของท้องถิ่น ผ่านความปรารถนาในจารึก 


คำสำคัญ
ตู้พระธรรม, จารึก, อานิสงส์, อุบลราชธานี, ยโสธร

Abstract

Ubon Ratchathani which covers the area of ​​Ubon Ratchathani Province and Yasothon Province. In the past, it was the area where the Buddhist doctrine cabinets was found. For preserving palm leaf scrolls, there were a lot of them.

 which appears to have an inscription in the Buddhist doctrine cabinets It is an important written evidence of the cultural dimension of beliefs about virtues in Buddhism. The authors of the article studied from the inscriptions of the Buddhist doctrine cabinets, 17 pieces, totaling 14 temples in 5 districts of Ubon Ratchathani Province. and Yasothon Province The results of the study found that

In terms of the structure of the inscriptions, there are similar patterns. The first part is the date of creation. The second part talks about the creator. The third part discusses activities and wishes, inscribed with Tham Isan characters, Thai Noi characters and Thai characters, indicating the official era, built from 1863 to 1937. The essence of the transliteration and the reading of the inscription This reflects the information on many issues, including a group of local technicians in Ubon Ratchathani and the city of Yasothon and its relationship as an educational center in the area host of faith The creator of the dharma cabinet and the social status Creating artifacts for preserving the Bible and their use in changing contexts and local beliefs through wishes in inscriptions.


Keywords
Buddhist doctrine cabinets, Inscriptions, The A¬nisamsa, Ubon Ratchathani, Yasothon