[email protected] 09-4495-2461
ISSN: 2773-9392 (Print) || ISSN: 2773-9562 (Online)

วารสาร วิถีทรรศน์ศิลปะและวัฒนธรรม

ปีที่ 1337 : ฉบับที่ 1337 : ประจำเดือน System Of Pekalongan Was Here!

บทความ

ชื่อเรื่อง
ลักษณะพหุลักษณ์ในจิตรกรรมฝาผนังวัดทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

Title
Pluralism Style in the Murals of Wat Thung Sri Muang, Ubon Ratchathani Province

ผู้แต่ง
ศุภชัย สิงห์ยะบุศย์

Authors
Supachai Singyabuth

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ “ลักษณะพหุลักษณ์ในจิตรกรรมฝาผนังวัดทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุบลราชธานี” เป็นบทความวิจัย จากงานวิจัย มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ ศึกษาลักษณะสังคม พหุลักษณ์เมืองอุบลราชธานี ในฐานะปัจจัยที่ส่งผลต่อลักษณะรูปแบบจิตรกรรมฝา ผนัง อุโบสถวัดทุ่งศรีเมือง อุบลราชธานี และศึกษาลักษณะพหุลักษณ์ในจิตรกรรม ฝาผนังวัดทุ่งศรีเมือง ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แนวคิดสังคมพหุลักษณ์เป็น แนวคิดหลัก ผลการวิจัย พบว่า สังคมพหุลักษณ์อุบลราชธานี มีความสัมพันธ์โดยตรง กับ ประวัติศาสตร์สยาม สมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ถึงช่วงสมัยรัชกาลที่ 4 ที่ส่งผล ต่อลักษณ์สังคมพหุลักษณ์อุบลราชธานี ซึ่งได้ใช้เมืองอุบลราชธานีเป็นศูนย์กลางการ ปกครองเมืองประเทศราชเขตอีสานตอนล่างรวมถึงลาวล้านช้างจำ ปาศักดิ์ ส่งผลให้มี ลักษณะสังคมพหุลักษณ์ระหว่างกลุ่มผู้ปกครองจากราชธานีกรุงเทพฯ กับบรรพชนของ คนอุบลราชธานีที่เป็นสังคมวัฒนธรรมล้านช้าง มีประวัติศาสตร์เกี่ยวพันกับนครเชียงรุ้ง เวียงจันทน์ และจำ ปาศักดิ์ และส่งผลต่อลักษณะพหุลักษณ์ในจิตรกรรมฝาผนังวัดทุ่ง ศรีเมือง ซึ่งมีลักษณะสำคัญ คือ เป็นจิตรกรรมที่สะท้อนเนื้อหาสังคมพหุลักษณ์ระหว่าง ท้องถิ่นลาวอีสานอุบลราชธานีกับกรุงเทพมหานคร ที่สอดแทรกกลุ่มคนและวิถีชีวิต ที่แตกต่าง อัตลักษณ์วัฒนธรรม เข้ามาเป็นส่วนผสมทางสังคมในเนื้อหาจิตรกรรม ขณะที่โครงสร้างรูปแบบจิตรกรรมไทยประเพณีรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะการใช้เส้น สินเทาจำแนกขอบเขตเนื้อหาภาพ การใช้สีเข้ม หนัก เป็นสีพื้นหลัง ลักษณะดังกล่าวได้ถูกนำเข้ามาผสมผสานกับเนื้อหาสังคมอีสาน ปรากฏในส่วนของพระเวสสันดรชาดก กลายเป็นลักษณะพหุลักษณ์สำคัญในจิตรกรรมฝาผนังวัดทุ่งศรีเมือง


คำสำคัญ
จิตรกรรมฝาผนังวัดทุ่งศรีเมือง, ลักษณะพหุลักษณ์ทางศิลปะ, สังคมพหุลักษณ์

Abstract

Pluralism Style Expressed in the Murals of Wat Thung Sri Muang in Ubon Ratchathani Province. This research study has two objectives: to study the plural society of Ubon Ratchathani as a factor affecting the mural painting style of Wat Thung Sri Muang Ubon Ratchathani and to analyze the plural characteristics in mural painting Wat Thung Sri Muang using a qualitative research methodology. The “plural society” is the main concept employed in this study. The results revealed that plural society Ubon Ratchathani was directly associated to Siam history during Thonburi and Rattanakosin periods to the reign of King Rama IV that affected the plural society in Ubon Ratchathani. Ubon Ratchathani is the administrative center of the lower northeastern Kingdom of Thailand, including Champasak Province in the Lan Xang kingdom. Also, it resulted in a plural society between rulers from Ubon Ratchathani and Bangkok with ancestors from Ubon Ratchathani. On the other hand, a Lan Xang cultural society had a historical connection with Chiang Rung autonomous region, Vientiane, and Champasak provinces in Laos. Moreover, the characteristics of the murals in Wat Thung Sri Muang are characterized as a painting that refl ects the plural society between Lao-Isan, Ubon Ratchathani, and Bangkok, which incorporate groups of people and lifestyles with different cultural identities into the social mix of painting content. Although the structure and pattern in the painting were from the Rattanakosin period. Especially the use of line drawings to classify visual content boundaries, using thick dark colors as the background color. These above characteristics have been incorporated into Isan society content. It also appears in the Phra Vessantara Jakata which became an important plural character.


Keywords
Mural painting, Wat Thung Sri Muang, Pluralism style, Plural Society